วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราช

การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย
การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทย จะมีความสอดคล้องและความแตกต่างจากแบบสากล กล่าวคือในส่วนที่สอดคล้อง คือ ในสมัยก่อนประวัติสาสตร์จะมีการแบ่งยุคหินและยุคโลหะ แต่ในความแตกต่าง เมื่อมาถึงสมัยประวัติศาสตร์จะจัดแบ่งตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ดังรูปแบบต่อไปนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ จะอาศัยหลักฐานที่มีการขุดค้นพบเพื่อการวิเคราะห์ตีความ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัตศาสตร์ในประเทศไทยออกเป็นดังนี้
1). ยุคหิน เป็นยุคสมัยเริ่มแรกที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ไม่มีอยู่อาศัยแน่นอน เคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ อาศัยเครื่องมือหินกะเทาะเพื่อการล่าสัตว์ และป้องกันตัว ซึ่งในยุคหินนี้จะสามารถแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้
- ยุคหินเก่า จะเป็นพวกแร่ร่อน อาศัยตามถ้ำ ใช้เครื่องมือหินกรวดกะเทาะด้านเดียวที่ไม่มีความประณีต เช่น ขวานหินกำปั้น หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านแม่ทะ และบ้านดอลมูล จ. ลำปาง รวมถึงที่บ้านเก่า ต. จระเข้เผือก อ. เมือง จ.กาญจนบุรี
- ยุคหินกลาง จะเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยเครื่องมือหินจะมีความประณีตยังอาศัยอยู่ในถ้ำ และนำเอาวัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นยอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต ซึ่งพบได้จากเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณถ้ำผี จ.แม่ฮ่องสอน
-ยุคหินใหม่มนุษย์ในยุคนี้จะเริ่มรู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และตั้งหลักแหล่งที่อยูอาศัย มีการสร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า ขวานหิานขัด หรือขวานฟ้า รวมทั้งการสร้างภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และการนำกระดูกสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณบ้านโนนกทา ต.บ้านนาดี อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น และที่ถ้ำผาแต้ม อ.โขงเจียน จ. อุบลราชธานี
2.) ยุคโลหะ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้แร่ธาตุมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ยุคย่อย ได้แก่
- ยุคสำริด โดยมนุษย์ในยุคนี้มีพัฒนาการความคิดในการประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ โดยเอาสำริด คือ แร่ทองแดงผสมกับดีบุก มาหล่อหลอมเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงมีการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์เด่นหลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
- ยุคโลหะ มนุษย์ในยุคนี้จะเป็นชุมชนเกษรที่มีการขยายตัวใหญ่ขึ้น มีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จะนำเอาแร่เหล็กมาหลอมสร้างเป็นอุปกรณ์ เนื่องจากจะมีความทนแข็งแรงมากกว่า รวมถึงรู้จักการสร้างพิธีกรรมโดยอาศัยภาชนะดินเผาต่างๆ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม หลักฐานที่พบในประเทศไทย ได้แก่ บ้านดอลตาเพรช อ.พนมทวน จ.กาญจบุรี รวมถึงหมู่บ้านใหม่ชัยมงคล จ. นครสวรรค์
2. สมัยประวัติศาสตร์ไทย การเข้าสู่ช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ไทย นักวิชาการได้กำหนดจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไทย คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1826 สำหรับการแบ่งยุคสมัยของไทย นิยมแบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หรือแบ่งตามลักษณะทางการเมืองการปกครองเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช สมัยประชาธิปไตยเป็นต้น
กล่าวโดยสรุป การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาตร์ไทย สามารถจัดแบ่งอย่างกว้างๆ ได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้ 1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีการคิดตังอักษรขึ้นใช้สำหรับบันทึกเรื่องราวต่างๆ การศึกษาทางประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน ชั้นต้นที่ได้จากาารค้นพบตามท้องที่ต่างๆในประเทสไทย เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะสำริด เหล็ก เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา โครงการะดูก ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ เป้นต้น โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ ตามพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีเครื่องมือเครื่องใช้
2) สมัยประวัติศาสตร์ไทย เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้แล้ว นักวิชาการจึงอาศัยหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่น จารึก จดหมายเหตุบันทึกการเดินทาง พงศาวดาร เป็นต้น และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งที่เป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ปราสาทหิน วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เงินเหรียญ เครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งงานศิลปะต่างๆ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ตีความ เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น



อ้างอิง
สมนึก ปฏิปทานนท์.สังคมศึกษาช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6).
กรุงเทพฯ:ภูมิบัณฑิตการพิมพ์,2544

วันวิสาขบูชา



วันวิสาขบูชา
ประวัติ
วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]
วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็น
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง
มหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก
[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน

จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

พุทธศาสนิกชน ควรปฏิบัติตนและเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ดังนี้
ตอนเช้าทำบุญตักบาตรที่วัด รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และเจริญจิตภาวนา
ตอนค่ำประชาชรมาร่วมพิธีเวียนเทียนโดยมาพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ ในขณะที่เวียนเทียนให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 6 วัน ดังกล่าวแล้วยังมีวันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ” เป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ ของทุกเดือน เป็นวันที่ชาวพุทธมาบำเพ็ญกุศลให้กับตนเอง วันธรรมสวนะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งถือเป็นวันบำเพ็ญกุศลของชาวพุทธทั่วไป การปฏิบัติตนวันธรรมสวนะ หรือวันพระ คือ
ชาวพุทธที่ไปทำบุญที่วัดในวันพระ คือ เมื่อถึงวันพระ ชาวพุทธก็ไปทำบุญที่วัด เตรียมอาหารคาว หวาน จัดใส่ปิ่นโต พร้อมนำดอกไม้ ธูป เทียนบูชาพระประธานที่วัด
ชาวพุทธไปรักษาศีลอุโบสถ รักษาศีล 5 ศีล 8 จะค้างที่วัด ชาวพุทธจะไปรักษาศีลอุโบสถที่วัด นิยมสวมชุดสีขาว เพื่อระวังจิตใจของตนเองให้ขาวสะอาดบริสุทธิ์ เหมือนผ้าสีขาวที่ใส่หรือสวมชุดสุภาพเรียบร้อย

ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนตร์ตามลำดับดังนี้คือ
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ ด้วยบท " อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ...พุทโธภควาติิ"
บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ ด้วยบท " สวากขาโต ภควตาธัมโม...วิญญูหิติ"
บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ ด้วยบท " สุปฏิปันโน ภควโตสาวกสังโฆ...โลกัสสาติ "
จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน
จากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่ง
วันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน